วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การจัดการป้องกันการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงในแมลงพาหะนำโรค


1. มีการเฝ้าระวังการดื้อของแมลงเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการวางแผน เลือกสารเคมีให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
2. หมุนเวียนใช้สารเคมีที่มีกลไกลการออกฤทธิ์ต่างกันทุกๆปี
3. ใช้สารเคมีผสมที่มีกลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน
4. ใช้วิธีการควบคุมชนิดอื่น หรือ วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน แทนวิธีการใช้สารเคมีแต่เพียงอย่างเดียว

ความล้มเหลวในการควบคุมแมลงเกิดจากหลายปัจจัย รวมไปถึงปัญหาจากการดื้อต่อเคมีกำจัดแมลง ซึ่งถ้าแมลงมีการดื้อสารเคมีจะทำให้การควบคุมโดยใช้สารเคมีดังกล่าวไม่ได้ผลเท่าที่ควร เป็นการสื้นเปลืองงบประมาณที่ต้องใช้ในการซื้อสารเคมี เสียทั้งเวลาและสุขภาพของคนที่ทำหน้าที่ในนการควบคุม ดังนั้นจึงน่าที่จะมีการเฝ้าระวัง และตรวจติดตามในเรื่องการดื้อต่อเคมีกำจัดแมลงโดยการผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโครงการควบคุมแมลงพาหะด้วย
 
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.facebook.com/pages/Union-of-Unicor-group/152648168123058

วิธีการใช้สารเคมี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง

 
1. ใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด หรือใช้เมื่อยามจำเป็นโดยเลือกใช้ชนิดของสารเ และอัตราการใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของแมลงที่กำจัด ไม่ใช้สารเคมีเกินอัตราที่กำหนดเพราะจะทำให้แมลงพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีได้เร็วยิ่งขึ้น

2. ใช้สารเคมีตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ โดยสารเคมีดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์นั้นๆจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

3. ไม่ใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันนานๆ เพราะจะทำให้แมลงมีการพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีดังกล่าวได้เร็ว

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.facebook.com/pages/Union-of-Unicor-group/152648168123058#!/pages/Union-of-Unicor-group/152648168123058

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กลไกการสร้างความต้านทานต่อเคมีกำจัดแมลง (Insecticide Resistance Mechanism) ของแมลง

 
กลไกการสร้างความต้านทานต่อเคมีกำจัดแมลง (Insecticide Resistance Mechanism)
ของแมลงมีหลายประเภท ดังนี้
 
1. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงทางเสรีรวิทยาในตัวแมลง โดยการเพิ่มชั้นไขมันบริเวณผนังลำตัวของแมลงทำให้สารเคมีกำจัดแมลงซึมเข้าสู่ตัวแมลงได้ช้าลง หรือเพิ่มความรวดเร็วในการขับถ่าย เพื่อขจัดสารเคมีกำจัดแมลงออกนอกร่างกาย

2. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การเปลี่ยนพฤติกรรมการเข้ามาเกาะพักในบ้านของยุงก้นปล่อง

3. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ภายในตัวแมลงซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น

3.1 การเปลี่ยนแปลงของ
Target Site (ส่วนที่สารเคมีกำจัดแมลงที่ไปจับแล้วทำให้ออกฤทธิ์) ตัวอย่างเช่น สารเคมีในกลุ่มออร์การ์โนฟอสเฟต และคาร์บาเมต จะออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทโดยยับยั้งเอ็มไซน์ Acetycholinesterase ซึ่งควบคุมการทำงานของสารสื่อประสาท Acetylcholine ในระบบประสาทของแมลง

3.2 การเปลี่ยนแปลง
detoxifying enzymes (เอ็มไซน์ที่ทำลายฤทธิ์ของ สารเคมีกำจัดแมลง) ซึ่งการลดระดับความเป็นพิษของสารเคมี (detoxification mechannism)จะมีเอ็มไซม์เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ estrase, monooygenase, glutathione S-transferase ซึ่งเอ็มไซม์แต่ละชนิดจะจำเพาะในสารเคมีกำจัดแมลงในแต่ละกลุ่ม เช่น เอ็มไซม์ esterase จะไปย่อยสลายส่วนที่เป็นเอสเทอร์ (ester bond) ของสารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่ม ออร์การ์โนฟอสเฟต และไพรีธรอยด์ ทำให้สารเคมีดังกล่าวไม่เป็นพิษต่อแมลง
 

การดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงในแมลงพาหะนำโรค



 
ในปัจจุบันมีแมลงมากกว่า 500 ชนิด ที่มีการสร้างความต้านทานหรือดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง รวมทั้งแมลงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น ยุง แมลงวัน แมลงสาบ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงในอัตราเดิมแล้วไม่ได้ผลดังที่เคยเป็นบอกถึงการเกิดความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงของแมลงเหล่านั้น ซึ่งจะมีผลกระทบ ต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง มีผลมาจากหลายปัจจัย โดยมีปัจจัยจากการใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียวต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานเป้นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แมลงเกิดการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงนั้นได้
 

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

5/5 Model

The Choffray-Lilien Model
เป็นทฤษฎีที่อ้างอิงถึง The Webster-Wind และSheth Model โดยมุ่งเน้นตัวแปรหลักที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจโดยทฤษฎีนี้มีนัยสำคัญที่เชื่อมโยงกับลักษณะของศูนย์กลางการจัดซื้อขององค์กรขั้นตอนหลักในการตัดสินใจซื้อสินค้าอุตสาหกรรมมีดังนี้
1. การคัดสินค้าที่ไม่ตรงกับข้อกำหนดขององค์กรออกไป
2. รูปแบบความพอใจและการตัดสินใจซื้อของผู้มีส่วนร่วม
3. กำหนดรูปแบบและทางเลือกที่องค์กรต้องการ

ซึ่งสามารถจำแนกความแตกต่างของลูกค้าได้ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มลูกค้ามีความต้องการในสินค้าที่แตกต่าง (Need-specification heterogeneity)
2.กลุ่มลูกค้าศูนย์กลางการซื้อที่แตกต่าง( Buying center heterogeneity)
3.มีเงื่อนไขการประเมินที่แตกต่าง( Evaluation criteria heterogeneity)

4/5 Model

 

Webster and Wind (1972) เขียนกรอบคิดสาหรับการตัดสินใจซื้อขององค์การกรอบคิดนี้มีปัจจัย 4 อย่างที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขององค์การได้แก่ปัจจัยสิ่งแวดล้อมองค์การปัจจัยของศูนย์การซื้อและส่วนบุคคลดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors)
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors) เป็นปัจจัยภายนอกองค์การเช่นกายภาพเทคโนโลยีเศรษฐกิจการเมืองกฎหมายวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อผู้ขายปัจจัยการผลิตคู่แข่งขันผู้บริโภครัฐบาลสภาพแรงงานสมาคมการค้าเป็นต้นทิศทางชองอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมมี 4 แนวทางได้แก่ 1) การกำหนดสินค้าและการบริการโดยสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ 2) กำหนดเงื่อนไขของธุรกิจเช่นอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจระดับรายได้ประชาชาติอัตราดอกเบี้ยและอัตราการว่างงานโดยสิ่งแวดล้อมด้านการเมืองและเศรษฐกิจ 3) การกำหนดค่านิยมและบรรทัดฐานระหว่างองค์กรบุคคลโดยสิ่งแวดล้อมด้านวัฒนธรรมสังคมกฎหมายและการเมือง 4) การกำหนดการไหลของสารสนเทศ (Information flows) เข้าไปในองค์กรโดยสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพเทคโนโลยีเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
2. ปัจจัยภายในองค์การ (Organizational Factors)
. ปัจจัยภายในองค์การ (Organizational Factors) คือกลุ่มของอิทธิพลซึ่งอยู่ใน
ขบวนการซื้อแต่ละบริษัทจะกำหนดวัตถุประสงค์นโยบายขบวนการโครงสร้างและระบบเป็น
แนวทางในการตัดสินใจซื้อสิ่งเหล่านี้จึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

3. ปัจจัยด้านสังคมหรือระหว่างบุคคล (Social or Interpersonal Factors)
ปัจจัยระหว่างบุคคล (Interpersonal Factors) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขบวนการซื้อ
ศูนย์กลางการซื้อจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลที่มีสถานะอำนาจความเห็นอกเห็นใจการชักชวนที่
แตกต่างกันทาให้ผู้ขายได้รู้ถึงปัจจัยระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

4. ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล (Individual Factors)
ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล (Individual Factors) การตัดสินใจของแต่ละบุคคลมีอิทธิพลต่อการยอมรับและความชอบในผลิตภัณฑ์รวมทั้งอิทธิพลต่อการเสนอผลิตภัณฑ์ของผู้ขายโดยพิจารณาถึงอายุรายได้การศึกษาอาชีพบุคลิกลักษณะและทัศนคติที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ

3/5 Model : The Sheth Model


Sheth 1973b ปรับมาจากโมเดลพฤติกรรมการซื้อขององค์กรอุตสาหกรรม( HowardSheth Model)ซึ่งเน้นองค์ประกอบที่สำคัญของการตัดสินใจและการมีปฎิสัมพันธ์ตามรูปแบบที่ 3.1 โมเดลจะประกอบด้วย 1. จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจซื้อของบุคคล 2.เงื่อนไขสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและ 3. เมื่อกระบวนการซื้อมาถึงการตัดสินใจร่วมกันซึ่งอาจมีความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้นShethแสดงให้เห็นถึงปัจจัยของสถานการณ์ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการตัดสินใจที่ต้องเลือกผู้จาหน่ายหรือแบรนด์

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

CHAPTER 3 ORGANIZATIONAL BUYING MODELS

โมเดลการซื้อขององค์การ

พฤติกรรมองค์การ มีความแตกต่างกับพฤติกรรมผู้บริโภค เนื่องจากการพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นจะเป็นการตัดสินใจที่จะซื้อโดยพฤติกรรมส่วนบุคคล แต่ในด้านของพฤติกรรมการซื้อขององค์การนั้น มีหลายประเด็นที่เป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจซื้อ ซึ่งมุ่งเน้นหลายปัจจัยเพิ่มเติมนอกเนื้อตัวผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น ข้อมูลทางเทคนิค, การอบรมวิธีการใช้งาน รวมไปถึงเอกสารประกอบผลิตภัณฑ์

โมเดลทั่วไป ของ พฤติกรรมองค์การ

The Sheth Model
พฤติกรรมผู้ซื้อภาคอุตสาหกรรม

สมการที่ใช้ใน The Sheth Model
 
B= f(E,D,G,I)
 
B = All Influencing Buying Behavior 
E = Organizational Factor
D = Group Factor
I = Individual Factor

Webster and Wind's Model
แบบจำลองพฤติกรรมผู้ซื้อขององค์การ
 
 
เป็นเรื่องปกติที่พฤติกรรมการซื้อสินค้าของบุคคลธรรมดาทั่วไปจะมีความแตกต่างกับพฤติกรรมหรือลักษณะการซื้อขององค์กรซึ่งสามารถพิจารณาได้เป็น 4 ประเด็นคือ
1.องค์การไม่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคหรืออรรถประโยชน์ส่วนบุคคลแต่มีความต้องการสินค้าและ
บริการเพื่อใช้ในการผลิตการขายต่อซึ่งจะพิจารณาราคาหรือต้นทุนเป็นสำคัญรวมถึงขั้นตอนในการคัดเลือก
2.มีบุคคลหลายคนเกี่ยวข้องกับการซื้อในองค์การโดยเฉพาะรายการสินค้าที่สำคัญๆผู้ตัดสินใจ
โดยทั่วไปมีความรับผิดชอบในองค์การและทาการตัดสินใจต่างๆเพื่อการตัดสินใจซื้อ
3.วงเงินที่ซื้อมีจานวนมากมีรายละเอียดในเชิงเทคนิคกระบวนการการซื้อจะใช้เวลานานมีขั้นตอนการเจรจาต่อรองที่ซับซ้อนจึงทาให้ผู้ซื้อและผู้ขายความสัมพันธ์และคุ้นเคยกัน
4. องค์กรไม่สนใจรูปลักษณ์ภายนอกของสินค้ามากนัก( Hudson 1971) แต่จะให้ความสำคัญกับเงื่อนไขข้อเสนอการอบรมความรู้วิธีการใช้งานหรือวิธีการและการส่งมอบซึ่งวิธีการดังกล่าว)ถือการสร้างระบบในการขายองค์กรที่จะสร้างความพึงพอใจในการขายให้กับลูกค้าประเภทองค์กร

โมเดลของพฤติกรรมองค์กร ( General Models of Organizational Behavior)
Webster 1984 ได้อ้างถึงโมเดลของลักษณะทั่วไปของกระบวนการตัดสินใจซื้อขององค์กรซึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่จะระบุถึงตัวแปรที่สำคัญในกระบวนการการตัดสินใจรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
The Sheth Model
Sheth 1973b ปรับมาจากโมเดลพฤติกรรมการซื้อขององค์กรอุตสาหกรรม( HowardSheth Model)ซึ่งเน้นองค์ประกอบที่สำคัญของการตัดสินใจและการมีปฎิสัมพันธ์ตามรูปแบบที่ 3.1 โมเดลจะประกอบด้วย 1. จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจซื้อของบุคคล 2.เงื่อนไขสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและ 3. เมื่อกระบวนการซื้อมาถึงการตัดสินใจร่วมกันซึ่งอาจมีความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้นShethแสดงให้เห็นถึงปัจจัยของสถานการณ์ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการตัดสินใจที่ต้องเลือกผู้จาหน่ายหรือแบรนด์
1.      ลักษณะทางจิตวิทยา: องค์ประกอบเบื้องต้นของSheth Model คือแนวคิดเกี่ยวกับความคาดหวัง ( Expectation) ซึ่งได้กำหนดว่าทัศนคติที่มีต่อผู้จาหน่ายหรือแบรนด์ที่ตอบสนองความพึงพอใจที่เกิดจากวัตถุประสงค์สาหรับสถานการณ์ที่ต้องการซื้อ (Sheth 1973b p.52) เพราะว่าแต่ละบุคคลจะประกอบด้วยตัวแทนผู้จัดซื้อที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการจัดซื้อซึ่งShethระบุว่าปัจจัยหลาบอบ่างที่เกิดขึ้นมาจากความคาดหวังของแต่ละคนที่แตกต่างกันที่เกิดจากประวัติปูมหลังที่แตกต่างรวมถึงแหล่งข้อมูลที่ต่างกันทัศนคติที่อาจบิดเบือนและประวัติการซื้อที่ผ่านมา
2. การร่วมตัดสินใจ( Joint Decision Making) : Shethบอกถึงความแตกต่างระหว่างการตัดสินใจของบุคคลกับกลุ่มของบุคคลที่จะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่การกำหนดประเภทสินค้าเวลาที่จากัดการยอมรับความเสี่ยงและประเภทการซื้อเช่นลักษณะขององค์กรขนาดและระดับของการมอบหมายอำนาจการซื้อตามโมเดลการซื้อที่ไม่เป็นไปตามปกติจะมีความเสี่ยงที่สูงกว่าและมีข้อจากัดทางเวลาที่น้อยลงซึ่งปัจจัยทั้งหมดมีผลต่อการร่วมตัดสินใจ
3. ความคิดเห็นที่แตกต่าง (Conflict Resolution) :
กระบวนการมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจร่วมเมื่อเป้าหมายทัศนคติระบบคุณค่าที่หลากหลายจากการติดตามผลความสำเร็จในระยะแรกรวมถึงการจำแนกความต้องการการรวบรวมข้อมูลการประเมินผู้จัดจาหน่ายผู้มีอำนาจตัดสินใจร่วมจะเข้ามามีบทบาทในการยุติความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อหาข้อสรุปShethได้ตั้งหลักการที่มีเหตุผลในการแก้ไขปัญหาความคิดเห็นที่แตกต่างโดยกำหนดการหาข้อมูลการใช้ความรอบคอบและการโน้มน้าวที่จะลดข้อขัดแย้งโดยอาศัยภาพรวมขององค์กรเป็นหลัก
4. Webster-Wind Model
Webster and Wind (1972) เขียนกรอบคิดสาหรับการตัดสินใจซื้อขององค์การกรอบคิดนี้มีปัจจัย 4 อย่างที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขององค์การได้แก่ปัจจัยสิ่งแวดล้อมองค์การปัจจัยของศูนย์การซื้อและส่วนบุคคลดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors)
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors) เป็นปัจจัยภายนอกองค์การเช่นกายภาพเทคโนโลยีเศรษฐกิจการเมืองกฎหมายวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อผู้ขายปัจจัยการผลิตคู่แข่งขันผู้บริโภครัฐบาลสภาพแรงงานสมาคมการค้าเป็นต้นทิศทางชองอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมมี 4 แนวทางได้แก่ 1) การกำหนดสินค้าและการบริการโดยสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ 2) กำหนดเงื่อนไขของธุรกิจเช่นอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจระดับรายได้ประชาชาติอัตราดอกเบี้ยและอัตราการว่างงานโดยสิ่งแวดล้อมด้านการเมืองและเศรษฐกิจ 3) การกำหนดค่านิยมและบรรทัดฐานระหว่างองค์กรบุคคลโดยสิ่งแวดล้อมด้านวัฒนธรรมสังคมกฎหมายและการเมือง 4) การกำหนดการไหลของสารสนเทศ (Information flows) เข้าไปในองค์กรโดยสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพเทคโนโลยีเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
2. ปัจจัยภายในองค์การ (Organizational Factors)
ปัจจัยภายในองค์การ (Organizational Factors) คือกลุ่มของอิทธิพลซึ่งอยู่ใน
ขบวนการซื้อแต่ละบริษัทจะกำหนดวัตถุประสงค์นโยบายขบวนการโครงสร้างและระบบเป็น
แนวทางในการตัดสินใจซื้อสิ่งเหล่านี้จึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ
3. ปัจจัยด้านสังคมหรือระหว่างบุคคล (Social or Interpersonal Factors)
ปัจจัยระหว่างบุคคล (Interpersonal Factors) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขบวนการซื้อ
ศูนย์กลางการซื้อจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลที่มีสถานะอำนาจความเห็นอกเห็นใจการชักชวนที่
แตกต่างกันทาให้ผู้ขายได้รู้ถึงปัจจัยระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
4. ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล (Individual Factors)
ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล (Individual Factors) การตัดสินใจของแต่ละบุคคลมีอิทธิพลต่อการยอมรับและความชอบในผลิตภัณฑ์รวมทั้งอิทธิพลต่อการเสนอผลิตภัณฑ์ของผู้ขายโดยพิจารณาถึงอายุรายได้การศึกษาอาชีพบุคลิกลักษณะและทัศนคติที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ
 The Choffray-Lilien Model
เป็นทฤษฎีที่อ้างอิงถึง The Webster-Wind และSheth Model โดยมุ่งเน้นตัวแปรหลักที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจโดยทฤษฎีนี้มีนัยสำคัญที่เชื่อมโยงกับลักษณะของศูนย์กลางการจัดซื้อขององค์กรขั้นตอนหลักในการตัดสินใจซื้อสินค้าอุตสาหกรรมมีดังนี้
1. การคัดสินค้าที่ไม่ตรงกับข้อกำหนดขององค์กรออกไป
2. รูปแบบความพอใจและการตัดสินใจซื้อของผู้มีส่วนร่วม
3. กำหนดรูปแบบและทางเลือกที่องค์กรต้องการ
ซึ่งสามารถจำแนกความแตกต่างของลูกค้าได้ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มลูกค้ามีความต้องการในสินค้าที่แตกต่าง (Need-specification heterogeneity)
2.กลุ่มลูกค้าศูนย์กลางการซื้อที่แตกต่าง( Buying center heterogeneity)
3.มีเงื่อนไขการประเมินที่แตกต่าง( Evaluation criteria heterogeneity)
ขั้นตอนและลำดับการวัดได้ถูกกำหนดในโมเดลใน 2 ขั้นตอนแรกคือการกำหนดตลาดที่มีความชานาญพิเศษและถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกเรียกว่าเป็นการจัดแบ่งกลุ่มในเชิงมหภาค (Macrosegmentation) ซึ่งลักษณะขององค์กรมีความต้องการสินค้าที่แตกต่าง
กลุ่มที่ 2 เป็นการจัดกลุ่มเชิงจุลภาค (Microsegmentation) ซึ่งจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆที่มีโครงสร้างการตัดสินใจซื้อที่เหมือนกันเรียกเครื่องมือนี้ว่าเมตริกซ์ของการตัดสินใจ ( a decision matrix)
ซึ่งการวัดด้วยวิธีการดังกล่าวจะใช้แบ่งลักษณะโครงสร้างองค์กรและบุคคลเทียบกับขั้นตอนการซื้อ
การกำหนดนิยามตลาดนี้ถูกแบ่งเป็น 5 โมเดลย่อยคือ
1. โมเดลด้านการรับรู้( Awareness Model)
2. โมเดลความเป็นไปได้ (Feasibility Model)
3. โมเดลตัวเลือกส่วนบุคคล (Individual-Choices Models)
4. โมเดลทางเลือกแบบกลุ่ม( Group-Choices Models)
5. โมเดลการเติบโต (Growth Model)
 โดยทั่วไปโมเดลการซื้อขององค์กรสามารถระบุประเด็นสาคัญได้อย่างน้อยที่สุด 2 ประเด็นที่ต้องการการทาวิจัยเพิ่มเติมคือ
1. กรณีที่มีหลายบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ :จะทาให้มีคุณค่าและเป้าหมายที่แตกต่างกันนาไปไปสู่ความขัดแย้งเพราะต่างคนอาจใช้ข้อมูลจากแหล่งที่แตกต่างรวมถึงการมีความชำนาญและการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่ต่างกัน
2. ขั้นตอนการซื้อขององค์กรมีความหลากหลายมากกว่าการซื้อของบุคคลมีข้อมูลหลายระดับและกระบวนการซื้อที่เป็นทางการและถูกขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์จากการทางานด้านการจัดซื้อ
 โดยมากแล้วโมเดลด้านพฤติกรรมจะถูกนามาปรับใช้ในเรื่องการซื้อแต่สาหรับการซื้อขององค์กรโมเดลด้านการต่อรองจะนามาสู่การเป็นประโยชน์ต่อองค์กรที่มากขึ้น
 การตัดสินใจซื้อแบบกลุ่ม (Group Choice)
การตัดสินใจภายในครอบครับเพื่อซื้อสินค้าหรือในองค์กรก็เช่นเดียวกันมักมีหลายบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องในหลายระดับในขณะที่โมเดลการตัดสินใจซื้อภายในองค์กรใช้วิธีการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพซึ่งเป็นงานที่ไม่สำคัญมากนักในเชิงการตลาดที่จะใช้วิธีการจัดการอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการจัดการขั้นตอนการตัดสินใจของกลุ่ม
 ตามที่Choffray and Lilion 1980 ได้เสนอโมเดลเกี่ยวกับการตัดสินใจของกลุ่มแบ่งออกได้เป็น3 ประเภทคือ
1. แบบไม่จากัดโควต้า( None quota Scheme)
2.แบบข้อตกลงที่จากัดโควต้า (Agreement Quota Schemes)
3.แบบตัดสินใจรายบุคคล (Individual Scheme)
โมเดลการต่อรอง ( Bargaining Models)
ระบบการตลาดเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ซื้อและผู้ชายซึ่งในส่วนของผู้ขายจะเป็นผู้นาเสนอสินค้าและราคาที่ใช้จาหน่ายในขณะที่ผู้ซื้อเป็นผู้มีความต้องการและตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกตามคุณค่าและคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการที่ตนเองคาดหวัง
ตลาดองค์กรและตลาดผู้บริโภคที่ต้องการใช้ประโยชน์สินค้าที่มีความสาคัญและมีการใช้เป็นระยะเวลานานเช่นบ้าน, รถยนต์เป็นต้นโดยธรรมชาติแล้วก่อนเกิดการซื้อจะมีการต่อรองเกิดขึ้นเพื่อให้ได้เงื่อนไขที่ดีที่สุดซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับหน่วยงานที่เป็นองค์กร, หน่วยงานภาครัฐและธุรกิจ ( Reeder and Colleagues (1987 p.475)  
นิยามของการเจรจาต่อรองคือกระบวนการสื่อสารที่มีผู้เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ฝ่ายเป็นการมีผลประโยชน์ร่วมและขัดแย้งกันโดยมีกิจกรรมดาเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือการซื้อขาย 
การมีผลประโยชน์และความขัดแย้งร่วมกัน ( Common and Conflicting Interest ) เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาและรายละเอียดให้ศึกษาได้เป็นอย่างมากการเจรจาด้านผลประโยชน์ร่วมกันเป็นที่รู้จักกันในชื่อของการเจรจาเชิงบูรณาการในขณะที่การเจรจาการขัดแย้งทางผลประโยชน์จะแบ่งออกเป็นหลายประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไป 
การมีกิจกรรมร่วมกัน” (Joint Action) เป็นกระบวนการที่ร่วมกันแสวงหาข้อตกลงระหว่างคู่กรณีและเป็นแก่นของการเจรจาต่อรองซึ่งร่วมกันเพื่อหาข้อยุติหรือตกลงร่วมกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในที่สุด
Raiffa (1982) ได้แบ่งสถานการณ์ของการเจรจาต่อรองออกเป็นตามลักษณะต่างๆซึ่งสามารถ
ช่วยกำหนดการเลือกใช้โมเดลที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ 
นิยามและแนวคิดสาหรับการเจรจาต่อรองเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทาความเข้าใจซึ่งมีการถกกันในเรื่องของความแตกต่างของการเจรจาแบบกระจาย (Distributive Bargaining) และแบบรวมศูนย์ (Integration Bargaining) ซึ่งมีหลักการที่สำคัญคือ
 ระดับราคาที่ยอมรับได้” (Reservation Price) ราคาสูงสุดที่ผู้ซื้อจะรับได้และราคาต่ำสุดที่ผู้ขายจะสามารถขายได้ 
Model of Bargaining Outcomes (โมเดลผลลัพธ์ของการต่อรอง)
Nash (1950) ได้แนะนาหลักความจริงของผลลัพธ์จากการเจรจาต่อรองแบบง่ายดังนี้
1. ความเป็นเหตุเป็นผลส่วนบุคคล (Individual Rationality) :คือข้อยุติของการต่อรองต้องทาให้คู่เจรจาดีขึ้นกว่าเดิมของทั้งสองฝ่ายซึ่งหากทาไม่สาเร็จการเจรจาจะไม่เกิดผล
2. ความเป็นไปได้ (Feasibility) :ข้อยุติของการต่อรองจะถูกเลือกผลลัพธ์ที่เป็นไปได้โดยเลือกจากกลุ่มของผลลัพธ์ที่มีความเป็นไปได้ทั้งหมด
3. มีความเป็นอิสระในการใช้ประโยชน์ (Independence of Utility Function Scale): ข้อยุติของการต่อรองต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นอิสระไม่มีเงื่อนไขใด
4. ได้สูงสุดโดยไม่มีใครเสีย( Pareto Optimality) : ข้อยุติของการต่อรองที่เกิดจากการได้รับประโยชน์สูงสุดและเสียประโยชน์น้อยที่สุดซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทั้งสองฝ่าย
5. มีความเป็นอิสระจากการเลือกในสื่งที่ไม่เกี่ยวข้อง( Independence of irrelevant alternatives) : เป็นการเลือกทางออกของข้อยุติที่ไม่ส่งผลต่อทางเลือกอื่นๆหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องอื่นๆ
6. มีความสมมาตร (Symmetry) :เป็นข้อตกลงที่มีความสมมาตรคือจะต้องมีความสอดรับกับประโยชน์ของคู่เจรจาที่ต่อรองซึ่งข้อยุติของการต่อรองคือการใช้ประโยชน์ได้เท่าเทียมกันระหว่างคู่เจรจา 
กระบวนการเจรจาต่อรอง (Process Models of Negotiation)
เป็นที่ทราบกันว่าโดยมากแล้วโมเดลหรือรูปแบบต่างๆของการศึกษาเรื่องการเจรจาต่อรองมักให้ความสาคัญกับผลลัพธ์ ( outcomes) ของการเจรจาจนละเลยสิ่งที่สาคัญคือกระบวนการเจรจาต่อรอง ( The bargaining process) ซึ่งหมายถึงกระบวนการในการเตรียมตัวการกาหนดกลยุทธ์ที่จะเสนอปฎิเสธหรือยอมรับในการเจรจาที่จะให้สัมฤทธิผลจากการเจรจานั้นBalakrishnan and Eliashberg 1980 ได้พัฒนาโมเดลที่น่าสนใจใน
กระบวนการเจรจาต่อรองโดยพัฒนาจากแนวคิดของ Pruitt 1981 ซึ่งนาเสนอวิธีการวิธีการนาเสนอและตอบกลับของการต่อรองโดยตั้งอยู่บนการเจรจาเพียง 1 ประเด็นเท่านั้น (Single issue) เช่นการต่อรองด้านราคา (Price) เท่านั้นซึ่งจากพฤติกรรมของผู้ต่อรองสามารถกำหนดได้ใน 2 ลักษณะคือ
1. เส้นแห่งการปฏิเสธ( Resistance Curve) เป็นการบอกถึงการยอมรับโดยไม่สมัครใจ
2. เส้นแห่งการยอมรับ( Concession Curve) เป็นการบอกถึงการยอมรับโดยสมัครใจ 
บทสรุป Organizational Buying Models
การเป็นตัวแทนขององค์กรในการจัดซื้อเป็นกิจกรรมที่มีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายมีความซับซ้อนมีกระบวนการหลายขั้นตอนถูกกำหนดโดยบุคคลกลุ่มบุคคลองค์กรและปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ
 
 
 


Repeat-purchase models for new products

อัตราการซื้อซ้ำเป็นสิ่งสำคัญที่นักการตลาดจะต้องทำให้เกิดขึ้น ดังนั้น ขั้นตอนการซื้อซ้ำ และการควบคุมมีดังนี้
1. Must be made aware by Advertising , Promotion, Sampling
2. Must be induced to try by Advertising (Product Concept), Relative price, Distribution Sampling
3. Must be induced to repeat once by Product Quality/delivery, Distribution, relative price
4. Must be induced to repeat regularly (Become a loyal customer) by Product Quality/delivery, Distribution, relative price

New Product Development Planning

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
 
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะทำให้องค์การประสบความสำเร็จในระยะยาว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นที่ทราบดีว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่เป็นสิ่งที่ใช้ต้นทุนสูง และมีความเสี่ยงสูง (High Cost High Risks) แต่ความเสี่ยงดังกล่าวจะสามารถควบคุมได้โดยผ่าน ความเข้าใจที่ชัดเจน และการบริหารการดำเนินงานอย่างมืออาชีพ ดังนั้น ประเด็นที่สำคัญสำหรับการบริหารความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้แก่
1. ให้ความสำคัญกับการจัดให้มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ Effective organizational arrangements for new product research and development
2. การมีพนักงานที่เป็นมืออาชีพทางด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ Professional staffing
3. มีค่าใช้จ่ายในการวิจัยตลาดอย่างเหมาะสม adequate expenditures for marketing research
4. มีการวางแผนและการพยากรณ์จำนวนการขายของกาขายผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ชัดเจน The use of sound explicit models for planning and forecasting new product sales

ประเภทของผลิตภัณฑ์ใหม่ Type of New Product Situations
Product Newness ผลิตภัณฑ์ใหม่
1.New Product innovation สินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่ รวมทั้งใหม่ในตลาด และใหม่ที่บริษัท
2. New Brand รวมทั้งแบรนด์ที่ใหม่ในองค์การ แต่ไม่ค่อยใหม่ในตลาด
3. New Model ซึ่งอาจจะเป็น รูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ บรรจุภัณฑ์ใหม่