วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กลไกการสร้างความต้านทานต่อเคมีกำจัดแมลง (Insecticide Resistance Mechanism) ของแมลง

 
กลไกการสร้างความต้านทานต่อเคมีกำจัดแมลง (Insecticide Resistance Mechanism)
ของแมลงมีหลายประเภท ดังนี้
 
1. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงทางเสรีรวิทยาในตัวแมลง โดยการเพิ่มชั้นไขมันบริเวณผนังลำตัวของแมลงทำให้สารเคมีกำจัดแมลงซึมเข้าสู่ตัวแมลงได้ช้าลง หรือเพิ่มความรวดเร็วในการขับถ่าย เพื่อขจัดสารเคมีกำจัดแมลงออกนอกร่างกาย

2. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การเปลี่ยนพฤติกรรมการเข้ามาเกาะพักในบ้านของยุงก้นปล่อง

3. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ภายในตัวแมลงซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น

3.1 การเปลี่ยนแปลงของ
Target Site (ส่วนที่สารเคมีกำจัดแมลงที่ไปจับแล้วทำให้ออกฤทธิ์) ตัวอย่างเช่น สารเคมีในกลุ่มออร์การ์โนฟอสเฟต และคาร์บาเมต จะออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทโดยยับยั้งเอ็มไซน์ Acetycholinesterase ซึ่งควบคุมการทำงานของสารสื่อประสาท Acetylcholine ในระบบประสาทของแมลง

3.2 การเปลี่ยนแปลง
detoxifying enzymes (เอ็มไซน์ที่ทำลายฤทธิ์ของ สารเคมีกำจัดแมลง) ซึ่งการลดระดับความเป็นพิษของสารเคมี (detoxification mechannism)จะมีเอ็มไซม์เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ estrase, monooygenase, glutathione S-transferase ซึ่งเอ็มไซม์แต่ละชนิดจะจำเพาะในสารเคมีกำจัดแมลงในแต่ละกลุ่ม เช่น เอ็มไซม์ esterase จะไปย่อยสลายส่วนที่เป็นเอสเทอร์ (ester bond) ของสารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่ม ออร์การ์โนฟอสเฟต และไพรีธรอยด์ ทำให้สารเคมีดังกล่าวไม่เป็นพิษต่อแมลง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น