วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มใหม่ๆ และการจัดการสารเคมี


ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสารเคมีกลุ่มใหม่ๆเพื่อนำมาใช้กำจัดแมลงที่เป้นปัยหาในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุข ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าสารเคมีที่ใช้กันอยู่ และมีความปลอดภัยสูง จึงควรที่จะได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลของสารเหล่านี้เพื่อที่จะได้นำมาใช้ต่อไป
สารเคมีกำจัดแมลงแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สารประกอบอนินทรีย์
2. สารประกอบอินทรีย์

สารประกอบอนินทรีย์ คือสารที่พบอยู่ในธรรมชาติ มีหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงแต่ประสิทธิภาพไม่ดีมากจึงไม่นิยมใช้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีสารอนินทรีย์ที่เป็นเกลือของกรดบอริคซึ่งใช้ได้ผลดี
Disodium Octaborate Tetrahydrate (DOT)
DOT เป็นสารกำจัดแมลงที่ออกฤทธิ์โดยการสัมผัส ไม่ขับไล่แมลง (non-repellent) สามารถกำจัด มด แมลงสาบ ปลวก และด้วงเจาะไม้ ตลอดจนเชื้อราผุ สามารถยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ของแมลงและเชื้อราทำให้เชื้อจุลินทร์ที่อยู่ในกระเพาะของแมลงตาย อาหารที่แมลงกินเข้าไปจึงย่อยไม่ได้

มีค่าความเป็นพิษเฉียบพลันทางปาก (acute oral LD50) มากกว่า 5,000 ม.ก./ก.ก. อาการเกิดพิษที่พบคืออาจทำให้เกิดผิวหนังระคายเคือง เป็นผื่น
การแก้พิษ หากถูกผิวหนังหรือเข้าตา ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากๆหากกลืนกินเข้าไปสามารถทำให้ผู้ป่วยอาเจียน

ชื่อการค้า : ทิมบอร์ (Tim-bor), ไนบอร์ ดี (Nibor-D), บอราแคร์ (Bora-Care)

 
สารประกอบอินทรีย์ คือสารที่องค์ประกอบหลักของคาร์บอน ไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจน ซึ่งปัจจุบันได้มาจากการสังเคราะห์ แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆมากมาย เช่น
1. กลุ่มคลอโรนิโคตินิล หรือนีโอนิโคตินอยด์ (Chloronicotinyl or Neonicotinoid)
2. กลุ่มฟีนิลไพราโซล (Phenylpyrazole)
3. กลุ่มไพโรล (Pyrrole)
4. กลุ่มอะเวอร์เม็คติน (Avermectin)
5. กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate)

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การจัดการป้องกันการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงในแมลงพาหะนำโรค


1. มีการเฝ้าระวังการดื้อของแมลงเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการวางแผน เลือกสารเคมีให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
2. หมุนเวียนใช้สารเคมีที่มีกลไกลการออกฤทธิ์ต่างกันทุกๆปี
3. ใช้สารเคมีผสมที่มีกลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน
4. ใช้วิธีการควบคุมชนิดอื่น หรือ วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน แทนวิธีการใช้สารเคมีแต่เพียงอย่างเดียว

ความล้มเหลวในการควบคุมแมลงเกิดจากหลายปัจจัย รวมไปถึงปัญหาจากการดื้อต่อเคมีกำจัดแมลง ซึ่งถ้าแมลงมีการดื้อสารเคมีจะทำให้การควบคุมโดยใช้สารเคมีดังกล่าวไม่ได้ผลเท่าที่ควร เป็นการสื้นเปลืองงบประมาณที่ต้องใช้ในการซื้อสารเคมี เสียทั้งเวลาและสุขภาพของคนที่ทำหน้าที่ในนการควบคุม ดังนั้นจึงน่าที่จะมีการเฝ้าระวัง และตรวจติดตามในเรื่องการดื้อต่อเคมีกำจัดแมลงโดยการผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโครงการควบคุมแมลงพาหะด้วย
 
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.facebook.com/pages/Union-of-Unicor-group/152648168123058

วิธีการใช้สารเคมี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง

 
1. ใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด หรือใช้เมื่อยามจำเป็นโดยเลือกใช้ชนิดของสารเ และอัตราการใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของแมลงที่กำจัด ไม่ใช้สารเคมีเกินอัตราที่กำหนดเพราะจะทำให้แมลงพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีได้เร็วยิ่งขึ้น

2. ใช้สารเคมีตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ โดยสารเคมีดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์นั้นๆจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

3. ไม่ใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันนานๆ เพราะจะทำให้แมลงมีการพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีดังกล่าวได้เร็ว

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.facebook.com/pages/Union-of-Unicor-group/152648168123058#!/pages/Union-of-Unicor-group/152648168123058

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กลไกการสร้างความต้านทานต่อเคมีกำจัดแมลง (Insecticide Resistance Mechanism) ของแมลง

 
กลไกการสร้างความต้านทานต่อเคมีกำจัดแมลง (Insecticide Resistance Mechanism)
ของแมลงมีหลายประเภท ดังนี้
 
1. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงทางเสรีรวิทยาในตัวแมลง โดยการเพิ่มชั้นไขมันบริเวณผนังลำตัวของแมลงทำให้สารเคมีกำจัดแมลงซึมเข้าสู่ตัวแมลงได้ช้าลง หรือเพิ่มความรวดเร็วในการขับถ่าย เพื่อขจัดสารเคมีกำจัดแมลงออกนอกร่างกาย

2. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การเปลี่ยนพฤติกรรมการเข้ามาเกาะพักในบ้านของยุงก้นปล่อง

3. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ภายในตัวแมลงซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น

3.1 การเปลี่ยนแปลงของ
Target Site (ส่วนที่สารเคมีกำจัดแมลงที่ไปจับแล้วทำให้ออกฤทธิ์) ตัวอย่างเช่น สารเคมีในกลุ่มออร์การ์โนฟอสเฟต และคาร์บาเมต จะออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทโดยยับยั้งเอ็มไซน์ Acetycholinesterase ซึ่งควบคุมการทำงานของสารสื่อประสาท Acetylcholine ในระบบประสาทของแมลง

3.2 การเปลี่ยนแปลง
detoxifying enzymes (เอ็มไซน์ที่ทำลายฤทธิ์ของ สารเคมีกำจัดแมลง) ซึ่งการลดระดับความเป็นพิษของสารเคมี (detoxification mechannism)จะมีเอ็มไซม์เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ estrase, monooygenase, glutathione S-transferase ซึ่งเอ็มไซม์แต่ละชนิดจะจำเพาะในสารเคมีกำจัดแมลงในแต่ละกลุ่ม เช่น เอ็มไซม์ esterase จะไปย่อยสลายส่วนที่เป็นเอสเทอร์ (ester bond) ของสารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่ม ออร์การ์โนฟอสเฟต และไพรีธรอยด์ ทำให้สารเคมีดังกล่าวไม่เป็นพิษต่อแมลง
 

การดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงในแมลงพาหะนำโรค



 
ในปัจจุบันมีแมลงมากกว่า 500 ชนิด ที่มีการสร้างความต้านทานหรือดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง รวมทั้งแมลงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น ยุง แมลงวัน แมลงสาบ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงในอัตราเดิมแล้วไม่ได้ผลดังที่เคยเป็นบอกถึงการเกิดความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงของแมลงเหล่านั้น ซึ่งจะมีผลกระทบ ต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง มีผลมาจากหลายปัจจัย โดยมีปัจจัยจากการใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียวต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานเป้นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แมลงเกิดการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงนั้นได้
 

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

5/5 Model

The Choffray-Lilien Model
เป็นทฤษฎีที่อ้างอิงถึง The Webster-Wind และSheth Model โดยมุ่งเน้นตัวแปรหลักที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจโดยทฤษฎีนี้มีนัยสำคัญที่เชื่อมโยงกับลักษณะของศูนย์กลางการจัดซื้อขององค์กรขั้นตอนหลักในการตัดสินใจซื้อสินค้าอุตสาหกรรมมีดังนี้
1. การคัดสินค้าที่ไม่ตรงกับข้อกำหนดขององค์กรออกไป
2. รูปแบบความพอใจและการตัดสินใจซื้อของผู้มีส่วนร่วม
3. กำหนดรูปแบบและทางเลือกที่องค์กรต้องการ

ซึ่งสามารถจำแนกความแตกต่างของลูกค้าได้ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มลูกค้ามีความต้องการในสินค้าที่แตกต่าง (Need-specification heterogeneity)
2.กลุ่มลูกค้าศูนย์กลางการซื้อที่แตกต่าง( Buying center heterogeneity)
3.มีเงื่อนไขการประเมินที่แตกต่าง( Evaluation criteria heterogeneity)

4/5 Model

 

Webster and Wind (1972) เขียนกรอบคิดสาหรับการตัดสินใจซื้อขององค์การกรอบคิดนี้มีปัจจัย 4 อย่างที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขององค์การได้แก่ปัจจัยสิ่งแวดล้อมองค์การปัจจัยของศูนย์การซื้อและส่วนบุคคลดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors)
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors) เป็นปัจจัยภายนอกองค์การเช่นกายภาพเทคโนโลยีเศรษฐกิจการเมืองกฎหมายวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อผู้ขายปัจจัยการผลิตคู่แข่งขันผู้บริโภครัฐบาลสภาพแรงงานสมาคมการค้าเป็นต้นทิศทางชองอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมมี 4 แนวทางได้แก่ 1) การกำหนดสินค้าและการบริการโดยสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ 2) กำหนดเงื่อนไขของธุรกิจเช่นอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจระดับรายได้ประชาชาติอัตราดอกเบี้ยและอัตราการว่างงานโดยสิ่งแวดล้อมด้านการเมืองและเศรษฐกิจ 3) การกำหนดค่านิยมและบรรทัดฐานระหว่างองค์กรบุคคลโดยสิ่งแวดล้อมด้านวัฒนธรรมสังคมกฎหมายและการเมือง 4) การกำหนดการไหลของสารสนเทศ (Information flows) เข้าไปในองค์กรโดยสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพเทคโนโลยีเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
2. ปัจจัยภายในองค์การ (Organizational Factors)
. ปัจจัยภายในองค์การ (Organizational Factors) คือกลุ่มของอิทธิพลซึ่งอยู่ใน
ขบวนการซื้อแต่ละบริษัทจะกำหนดวัตถุประสงค์นโยบายขบวนการโครงสร้างและระบบเป็น
แนวทางในการตัดสินใจซื้อสิ่งเหล่านี้จึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

3. ปัจจัยด้านสังคมหรือระหว่างบุคคล (Social or Interpersonal Factors)
ปัจจัยระหว่างบุคคล (Interpersonal Factors) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขบวนการซื้อ
ศูนย์กลางการซื้อจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลที่มีสถานะอำนาจความเห็นอกเห็นใจการชักชวนที่
แตกต่างกันทาให้ผู้ขายได้รู้ถึงปัจจัยระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

4. ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล (Individual Factors)
ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล (Individual Factors) การตัดสินใจของแต่ละบุคคลมีอิทธิพลต่อการยอมรับและความชอบในผลิตภัณฑ์รวมทั้งอิทธิพลต่อการเสนอผลิตภัณฑ์ของผู้ขายโดยพิจารณาถึงอายุรายได้การศึกษาอาชีพบุคลิกลักษณะและทัศนคติที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ