วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การจัดการป้องกันการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงในแมลงพาหะนำโรค


1. มีการเฝ้าระวังการดื้อของแมลงเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการวางแผน เลือกสารเคมีให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
2. หมุนเวียนใช้สารเคมีที่มีกลไกลการออกฤทธิ์ต่างกันทุกๆปี
3. ใช้สารเคมีผสมที่มีกลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน
4. ใช้วิธีการควบคุมชนิดอื่น หรือ วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน แทนวิธีการใช้สารเคมีแต่เพียงอย่างเดียว

ความล้มเหลวในการควบคุมแมลงเกิดจากหลายปัจจัย รวมไปถึงปัญหาจากการดื้อต่อเคมีกำจัดแมลง ซึ่งถ้าแมลงมีการดื้อสารเคมีจะทำให้การควบคุมโดยใช้สารเคมีดังกล่าวไม่ได้ผลเท่าที่ควร เป็นการสื้นเปลืองงบประมาณที่ต้องใช้ในการซื้อสารเคมี เสียทั้งเวลาและสุขภาพของคนที่ทำหน้าที่ในนการควบคุม ดังนั้นจึงน่าที่จะมีการเฝ้าระวัง และตรวจติดตามในเรื่องการดื้อต่อเคมีกำจัดแมลงโดยการผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโครงการควบคุมแมลงพาหะด้วย
 
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.facebook.com/pages/Union-of-Unicor-group/152648168123058

วิธีการใช้สารเคมี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง

 
1. ใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด หรือใช้เมื่อยามจำเป็นโดยเลือกใช้ชนิดของสารเ และอัตราการใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของแมลงที่กำจัด ไม่ใช้สารเคมีเกินอัตราที่กำหนดเพราะจะทำให้แมลงพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีได้เร็วยิ่งขึ้น

2. ใช้สารเคมีตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ โดยสารเคมีดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์นั้นๆจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

3. ไม่ใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันนานๆ เพราะจะทำให้แมลงมีการพัฒนาการดื้อต่อสารเคมีดังกล่าวได้เร็ว

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.facebook.com/pages/Union-of-Unicor-group/152648168123058#!/pages/Union-of-Unicor-group/152648168123058

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กลไกการสร้างความต้านทานต่อเคมีกำจัดแมลง (Insecticide Resistance Mechanism) ของแมลง

 
กลไกการสร้างความต้านทานต่อเคมีกำจัดแมลง (Insecticide Resistance Mechanism)
ของแมลงมีหลายประเภท ดังนี้
 
1. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงทางเสรีรวิทยาในตัวแมลง โดยการเพิ่มชั้นไขมันบริเวณผนังลำตัวของแมลงทำให้สารเคมีกำจัดแมลงซึมเข้าสู่ตัวแมลงได้ช้าลง หรือเพิ่มความรวดเร็วในการขับถ่าย เพื่อขจัดสารเคมีกำจัดแมลงออกนอกร่างกาย

2. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การเปลี่ยนพฤติกรรมการเข้ามาเกาะพักในบ้านของยุงก้นปล่อง

3. การสร้างความต้านทานโดยการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ภายในตัวแมลงซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น

3.1 การเปลี่ยนแปลงของ
Target Site (ส่วนที่สารเคมีกำจัดแมลงที่ไปจับแล้วทำให้ออกฤทธิ์) ตัวอย่างเช่น สารเคมีในกลุ่มออร์การ์โนฟอสเฟต และคาร์บาเมต จะออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทโดยยับยั้งเอ็มไซน์ Acetycholinesterase ซึ่งควบคุมการทำงานของสารสื่อประสาท Acetylcholine ในระบบประสาทของแมลง

3.2 การเปลี่ยนแปลง
detoxifying enzymes (เอ็มไซน์ที่ทำลายฤทธิ์ของ สารเคมีกำจัดแมลง) ซึ่งการลดระดับความเป็นพิษของสารเคมี (detoxification mechannism)จะมีเอ็มไซม์เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ estrase, monooygenase, glutathione S-transferase ซึ่งเอ็มไซม์แต่ละชนิดจะจำเพาะในสารเคมีกำจัดแมลงในแต่ละกลุ่ม เช่น เอ็มไซม์ esterase จะไปย่อยสลายส่วนที่เป็นเอสเทอร์ (ester bond) ของสารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่ม ออร์การ์โนฟอสเฟต และไพรีธรอยด์ ทำให้สารเคมีดังกล่าวไม่เป็นพิษต่อแมลง
 

การดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงในแมลงพาหะนำโรค



 
ในปัจจุบันมีแมลงมากกว่า 500 ชนิด ที่มีการสร้างความต้านทานหรือดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง รวมทั้งแมลงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น ยุง แมลงวัน แมลงสาบ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงในอัตราเดิมแล้วไม่ได้ผลดังที่เคยเป็นบอกถึงการเกิดความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงของแมลงเหล่านั้น ซึ่งจะมีผลกระทบ ต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลง มีผลมาจากหลายปัจจัย โดยมีปัจจัยจากการใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียวต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานเป้นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แมลงเกิดการดื้อต่อสารเคมีกำจัดแมลงนั้นได้